Welcome to my blog

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์

            จากหลักการทำงานขั้นพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมา องค์ประกอบดังกล่าว คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รองรับการทำงานแต่ละขั้นตอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายอย่าง ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันและมีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทใด ยี่ห้อใด รุ่นใด ต่างก็มีหลักการทำงานในลักษณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างเป็นระบบนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ดังนี้
            ๑)หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปทำตามคำสั่งที่ต้องการ อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่มีปัจจุบัน เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ อุปกรณ์จับภาพ อุปกรณ์รับเสียง เป็นต้น
            ๒)หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit : CPU) ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์ต่างๆให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
            ๓)หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งต่างๆในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดใช้งานอยู่เท่านั้น  หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ข้อมูลนั้นหายไป หน่วยความจำหลักทำงานควบคู่ไปกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ หน่วยความจำแรม และ หน่วยความจำรอม
            ๔)หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์อย่างถาวร ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูล แต่โปรแกรมที่เก็บไว้จะไม่สูญหาย อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่มีในปัจจุบัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ออปติคัลดิสถ์ เป็นต้น
            ๕)หน่วยส่งออก (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย เป็นทั้งภาพ เสียง สี แสง ตัวอักษร รูปภาพ อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่มีในปัจจุบัน เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น       
๒.๑ หน่วยรับเข้า
            หน่วยรับเข้า (input unit) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ เข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ และแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้
            ข้อมูลเข้า (input) ประกอบด้วยข้อมูล (data) และคำสั่ง (program) โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งข้อมูลจะถูกนำเข้าเมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม เช่น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม Microsoft Office Word ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษรและสัญลักษณ์ รวมทั้งรับคำสั่งเพื่อการจัดเก็บ (save) ข้อมูล เป็นต้น หน่วยรับเข้าจึงมีอุปกรณ์มากมายที่มีความสามารถในการรับข้อมูลเข้าที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
            อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น ๗ กลุ่มดังนี้
๑)อุปกรณ์แบบกด (keyed device) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มสำหรับกด เพื่อป้อนข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แบบกดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ แป้นพิมพ์ ซึ่งแป้นพิมพ์ประกอบด้วยปุ่มสำหรับการพิมพ์อักขระ พิมพ์ตัวเลข การเรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ และการควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
            ปัจจุบันแป้นพิมพ์ที่วางจำหน่ายมีการพัฒนาระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ได้แก่ ระบบการเชื่อมต่อแบบมีสายและไร้สาย การออกแบบตัวแป้นและปุ่มควบคุมการใช้งานมัลติมีเดีย แป้นพิมพ์จึงมีหลากหลายชนิดสำหรับสนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้
๑.๑) แป้นพิมพ์ไร้สาย (cordless keyboard) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบเพื่อส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สาย และทำงานโดยพลังงานแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
            ๑.๒) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics keyboard)
เป็นแป้นพิมพ์ที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความเสี่ยงกับการได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
๑.๓) แป้นพิมพ์พกพา (portable keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับเครื่องพีดีเอ มีทั้งแบบพับและแบบที่ทำจากยางซึ่งสามารถม้วนเก็บได้ ทำให้ใช้งานได้สะดวก
๑.๔) แป้นพิมพ์เสมือน (virtual keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ ซึ่งใช้เลเซอร์ในการจำลองภาพให้เสมือนแป้นพิมพ์จริง

            ๒)อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (pointing device) หรือเมาส์ (mouse)อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งจะรับข้อมูลจากการชี้ คลิก ดับเบิ้ลคลิก ลากและวาง จากนั้นข้อมูลจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์จะเป็นรูปลูกศร และมีกลไกภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับได้ว่าเมาส์เลื่อนตำแหน่งไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศทางใด อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่นิยมใช้ มีดังนี้
                 ๒.๑)เมาส์แบบทั่วไป (mechanical mouse) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป
                 ๒.๒)เมาส์แบบแสง (optical mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบโดยใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง โดยวงจรภายในเมาส์จะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง
                 ๒.๓)เมาส์แบบไร้สาย (wireless mouse) เมาส์ที่ใช้คลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สมัยใหม่ที่ใช้หลักการทำงานของอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานมากมาย ได้แก่

- ลูกกลมควบคุม (track ball) เป็นอุปกรณ์ที่มีลูกบอลขนาดเล็กวางอยู่ด้านบน ผู้ใช้สามารถหมุนลูกบอลเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
- แท่งชี้ควบคุม (track point) เป็นแท่งพลาสติกเล็กๆอยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ ผู้ใช้สามารถเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดและเลื่อน
- แผ่นรองสัมผัส(touch pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ของโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้นิ้วมือเคลื่อนที่ผ่านไปยังตำแหน่งต่างๆ เพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
- จอยสติ๊ก (joystick) เป็นก้านสำหรับใช้โยกไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อย้ายตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ และมีแป้นกดสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์
- เมาส์ที่ควบคุมด้วยเท้า (foot mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้มือในการควบคุมเมาส์แบบปกติได้ โดยเมาส์ชนิดนี้จะเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งและคลิกได้ด้วยเท้า
- เมาส์ที่ควบคุมด้วยตา (eye tracking) เป็นเมาส์ที่ออกแบบมาสำหรับการควบคุมตัวชี้ตำแหน่งด้วยสายตาหรือเรตินา
- ไจโรสโคปิก เมาส์ (gyroscopic mouse)เป็นเมาส์ที่ควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง โดยไม่ต้องใช้พื้นผิวสัมผัส ผู้ใช้สามารถเคลื่อนไหวเมาส์ในอากาศ เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้ทันที

นอกจากนี้ ซีพียูยังมีองค์ประกอบสำคัญ ๒ องค์ประกอบ คือ เรจิสเตอร์ และบัส เรจิสเตอร์(register) เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งไว้ชั่วคราวในระหว่างการประมวลผลของซีพียู เรจิสเตอร์ในซีพียูมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวนับระบุตำแหน่งคำสั่ง (program counter : PC) เก็บตำแหน่งที่อยู่ของคำสั่งถัดไปที่จะนำมาประมวลผล (instruction register : IR) เก็บคำสั่งก่อนการกระทำการประมวลผลคำสั่ง (execute) และเก็บข้อมูลชั่วคราว(accumulator) เป็นต้น
บัส (bus) คือ เส้นทางการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์
๒.๓ หน่วยความจำหลัก
            หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับจากหน่วยเก็บข้อมูลและเก็บผลลัพธ์ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (primary storage)
            หน่วยความจำหลักทำงานควบคู่ไปกับซีพียูและช่วยให้การทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก โดยซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่าวงรอบคำสั่ง (execution cycle)  โดยวงรอบของการทำงานของซีพียูนั้นทำงานเร็วมากหากไม่มีที่เก็บหรือพักข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลงตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลัก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
            ๑)หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (random access memory : RAM) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แรม เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผล หรือเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน่วยความจำประเภทนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย ซึ่งอาจเรียกว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( volatile memory ) หากเกิดกระแสไฟฟ้าดับ หรือเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมู,ที่อยู่ในหน่วยความจำจะถูกลบไป แรมสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด ดังนี้
            ๑.๑) แรมหลัก (main RAM) ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลและคำสั่งในแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการเก็บข้อมูลภายหลง ผู้ใช้ต้องย้ายข้อมูลจากแรมไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ออปติคัลดิสก์ แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น โดยการสั่งคำสั่งบันทึกจากโปรแกรมที่ใช้งาน
            ๑.๒) แรมวีดิทัศน์ (video RAM) ใช้เก็บข้อมูลสำหรับจอภาพ ทำให้สามารถส่งภาพไปที่จอได้เร็วขึ้น นิยมใช้กับการเล่นเกมและงานด้านกราฟิก เพื่อช่วยให้ภาพประกฎที่หน้าจอได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วการวัดขนาดของหน่วยความจำ นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร ๑ ตัวโดยคอมพิวเตอร์มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วมากขึ้น ซึ่งหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีดัง
            1 byte (ไบต์)    =                      1                     ตัวอักษร   (ประมาณ 1 พันตัวอักษร)
            1 KB (กิโลไบต์)   =                 1024                  ตัวอักษร   (ประมาณ 1 พันตัวอักษร)
            1 MB (เมกะไบต์) =                 1048576       ตัวอักษร   (ประมาณ 1 ล้านตัวอักษร)
            1 GB (กิกะไลต์)   =                 1073741824 ตัวอักษร    (ประมาณ  1 พันล้านตัวอักษร)
            ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่ 256 MB  512 MB 1GB  2GB  4GB  เป็นต้น
๒)หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (read only memory : ROM) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รอม  เป็นหน่วยความจำที่ปริษัทผู้ผลิตติดตั้งชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์  โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง นั่นคือ เมื่อเปิดเครื่องไปแล้ว และเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม  แต่ผู้ใช้ไม่สามรถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งในรอมได้ ชุดคำสั่งที่ติดตั้งในรอมอย่างถาวรมาตั้งแต่ผลิตของบริษัทเรียกว่า เฟิร์มแวร์ (firmware) ปัจจุบันรอมมีอยู่หลายชนิดบางชนิดมีความสามารถเพิ่มเติมชุดคำสั่งด้วยโปรแกรมพิเศษได้ ชนิดของรอมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Mark ROM , PROM EPROM และ EEPROM
๒.๔ หน่วยความจำรอง
            หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ภายหลังได้ ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลได้มากกว่าหน่วยความจำหลักมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
  ๑) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk)  ใช้หลักการของการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random access) กล่าวคือ ถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ ๒๑ หัวอ่านก็จะต้องไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลขึ้นมาได้ทันที หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read/write head)  โดยฮาร์ดดิสก์ที่ทำมาจากแผ่นจานแม่เหล็กเรียงซ้อนกันหลายๆ แผ่น ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก ยกเว้นแผ่นสุดท้ายที่ติดกับกล่องจะบันทึกข้อมูลได้เพียงหน้าเดียว โดยที่ทุกแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ที่ตำแหน่งตรงกันของฮษร์ดดิสก์ชุดหนึ่งๆ จะถูกเรียกว่า ไซลินเดอร์ (cylinder)
            การทำงานของหัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากมีฝุ่นไปกีดขวางหัวอ่านและบันทึก อาจทำให้หัวอ่านและบันทึกกระแทกกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ทำให้แผ่นเกิดความเสียหาย และเกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลได้
            ความจุของฮาร์ดดิสก์มีหน่วยตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ กิกะไบต์ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากสามารถเก็บข้อมูลได้มาก
๒) เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมน้อยลง ใช้สำหรับการเก็บสำรองข้อมูล (backup) เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักการของการเข้าถึงแบบลำดับ (sequential access) ข้อดีของเทปแม่เหล็ก คือ ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้มาก แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทึก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write)
๓) ออปติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและราคาไม่แพง ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
๓.๑) ซีดีรอม (CD-ROM : compact disk-read-only memory) คือ หน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้อีก
๓.๒) ซีดีอาร์ (CD-R : compact disk recordable) คือ หน่วยความจำรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมลงแผ่นเดิมได้จนกว่าข้อมูลจะเต็มแผ่น
๓.๓) ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW :compact disk rewritable) คือ หน่วยความจำที่สามรถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในข้อมูลเดิมได้ หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้
๓.๔) ดีวีดี (DVD-digital video disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมากขึ้น ดีวีดีหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูบได้ตั้งแต่ ๔.๗ กิกะไบต์ ดีวีดีแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
(๑) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้กับการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมงได้
(๒) ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ซึ่งมีราคาสูงกว่าดีวีดีรอม หลังจากที่มีการบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีอาร์แล้วว ผู้ใช้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
(๓) ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทคโนโลยีแบบแสง มีเครื่องอ่านที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้
๓.๕) บลูเรย์ดิสก์ (blue ray disk) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง ๑๐๐ กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำมาใช้ในการบันทึกภาพยนตร์
๔) หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) มีชื่อเรียกหลายอย่างได้แก่ แฟลชไดร์ฟ (flash drive) ธัมไดร์ฟ (thump drive) หรือแฮนดีไดร์ฟ (handy drive) เป็นหน่วยความจำรองชนิดอีอีพร็อม (electrically erasable programmable read-only memory : EEPROM ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูล เขียน และลบข้อมูลได้ตามต้องการ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก
ปัจจุบันหน่วยความจำแบบแฟลชสามารถเก็บข้อมูลตั้งแต่ 128 MB 256 MB 512 MB 1GB 2 GB จนถึง 16 GB และนับวันยิ่งจะมีความจุเพิ่มขึ้นอีก
นอกจากหน่วยสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอุปกรณ์สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ แผงวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เรียกว่า แผงวงจรหลัก (main board ) ซึ่งประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำ ชิปประมวลผลเสริม (coprocessor) และมีช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ป้อนข้อมูลและแสดงผล รวมทั้งมีช่องเสียบขยาย (expansion slot) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้สำรองไว้ใช้กับการ์ดเพิ่มเติม (expansion card) หรือตัวปรับต่อ (adapter) อื่นๆ
ปัจจุบันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เห็นและจับต้องได้ที่กล่าวมาแล้วนั้น เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งมีการพัฒนาทั้งด้านความเร็ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ หลากหลายรูปแบบ มีราคาถูกลงและเทคโนโลยีทางด้านนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากที่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ
๒.๕ หน่วยส่งออก
หน่วยส่งออก (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะแปลงข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายเป็นผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่มนุษย์เข้าใจ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
หน่วยส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑)หน่วยส่งออกชั่วคราว (solf copy) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ให้ผู้ใช้ได้ทราบผลลัพธ์ในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลลัพธ์นั้นก็จะหายไป หน่วยแสดงผลชั่วคราวที่นิยมใช้ มีดังนี้
(๑.๑) จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันมีหลายชนิด ดังนี้
            (๑) จอภาพซีอาร์ที (cathode ray tube monitor : CRT )จอภาพมีรูปร่าง ขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลักการทำงาน โดยการยิงแสดงอิเล็กตรอนไปยังด้านในของจอภาพ ซึ่งผิวของจอภาพจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส เมื่อตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนจอภาพจะเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างแต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ และมีหลอดแก้วแสดงผล เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด (cathode ray tube)ซึ่งจอภาพซีอาร์ที จะส่งแสงสะท้อนมายังนัยต์ตาของผู้ใช้ค่อนข้างมาก
            (๒) จอภาพแอลซีดี (liquid crystal display monitor : LCD) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว (liquid crystal) จึงใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยและมีแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย ทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอภาพแอลซีดีมีอยู่ ๒ ประเภท คือ จอภาพแบบแอกทีฟเมทริกซ์(active matrix) เป็นจอภาพที่มีความละเอียด จอสว่างและชัดเจนมาก  และจอภาพพาสซีฟเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอภาพแบบแอกทีฟเมทริกซ์
            (๓) จอภาพพลาสมา (plasma monitor) มีลักษณะแบนและบาง โดยจอภาพประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสง แต่ละเซลล์จะบรรจุแก๊สผสมระหว่างแก๊สซีนอนและแก๊สเฉื่อยอื่นๆ หลักการทำงานของจอพลาสมา คือเมื่อแก๊สในเซลล์เหล่านี้ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้า แก๊สจะแตกตัวออกเป็นประจุและปล่อยแสงอัลตราไวโอเลตออกมา สารเรืองแสงที่เคลือบไว้ที่จอจะดูดซับแสงอัลตราไวโอเลตและและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้ผู้ใช้มองเห็นเป็นภาพที่มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี รวมทั้งแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดีเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์เป็นอย่างมาก
๑.๒) อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ไปยังพื้นผิวเรียบหรือจอภาพขนาดใหญ่ นิยมใช้ในการเรียนการสอน การประชุม รวมถึงรองรับการฉายภาพยนตร์จอขนาดใหญ่ในบ้าน (home theater) เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อมๆกันได้ เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฉายภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีแบบแอลซีดี (liquid crystal display : LCD) และเทคโนโลยีแบบดีแอลพี (digital light processing : DLP) เทคโนโลยีแบบดีแอลพี ขนาดของอุปกรณ์จะเล็กกว่าแต่มีความสว่างรวมทั้งความคมชัดของภาพสูงกว่าแบบแอลซีดี
๑.๓) ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี ๒ ชนิด ดังนี้
               (๑) ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียงต่างๆ เช่น ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดังของเสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม เป็นต้น
               (๒) ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง ลำโพงชนิดนี้ต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง
         ๒) หน่วยส่งออกถาวร (hard copy) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ให้ผู้ใช้ได้ทราบผลลัพธ์ในรูปแบบกระดาษและสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้ได้ในภายหลัง หน่วยแสดงผลถาวรที่นิยมใช้ มีดังนี้
            ๒.๑) เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๑) เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยการกระแทกหัวพิมพ์กับแถบผ้าหมึก ทำให้เกิดอักขระบนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบบกระทบที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot-matrix printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการทำงานโดยการสร้างจุดลงบนกระดาษ โดยหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็มที่มีรูปทรงต่างๆ เมื่อเครื่องทำการพิมพ์ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ จะยื่นออกมา และกระแทกกับผ้าหมึกลงบนกระดาษที่ใช้พิมพ์ทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นตัวอักษรหรือรูปขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้นิยมใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีสำเนา โดยสามารถใช้กระดาษคาร์บอนคั่นระหว่างกระดาษ แรงกระแทกจะทำให้เกิดสำเนาเอกสารได้หลายสำเนา ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิด คือ มีเสียงดังในขณะพิมพ์ ตัวอักษรไม่คมชัดมาก
(๒) เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (nonimpact printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยวิธีการทางเคมีและใช้ความร้อนในการทำให้สีพิมพ์ติดกระดาษ เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
            เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (ink jet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยวิธีพ่นหยดหมึกเล็กๆให้ติดกับกระดาษ หมึกพิมพ์แบบสีจะต้องใช้แม่สีสามสี ซึ่งการใช้งานปกติหมึกพิมพ์จะหมดไม่พร้อมกัน ดังนั้น ในกรณีที่ใช้ตลับหมึกที่มีสามสีอยู่ในตลับเดียวกัน หากมีสีใดสีหนึ่งหมดก่อนตลับนั้นจะใช้ไม่ได้อีก ดังนั้น บางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เพื่อความประหยัด ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์แบบฉีดหมึกจะมีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นสูง แต่ตัวเครื่องมีราคาไม่แพง และให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีการพิมพ์เอกสารปริมาณไม่มาก เช่น การพิมพ์รายงานที่บ้าน การพิมพ์เอกสารจำนวนไม่มากของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
            เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนที่ ซึ่งผงหมึกที่มีประจุลบจะถูกดูดกับประจุบวก และลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดบนกระดาษ
            เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูง และมีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก แต่ตัวเครื่องมีราคาสูง เครื่องพิมพ์เลเซอร์เหมาะกับงานต้องพิมพ์ปริมาณมาก เช่น งานในสำนักงานร้านถ่ายเอกสาร ร้านออกแบบจัดพิมพ์รูปเล่ม งานออกแบบสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา เป็นต้น
เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน  (thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยการกลิ้งหมึกพิมพ์ที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้วเพิ่มความร้อนให้กับหมึกพิมพ์จนแวกซ์ละลาย และติดอยู่บนกระดาษ บางชนิดอาจใช้สีย้อมแทนแวกซ์ ทำให้สามารถพิมพ์ภาพสีที่มีคุณภาพการพิมพ์สูง แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์สูงมาก
เครื่องพิมพ์พล็อตเตอร์ (plotter) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการการเขียนภาพด้วยหัวปากกา นิยมใช้ในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จึงถูกออกแบบให้สามารถพิมพ์กับกระดาษขนาดใหญ่ได้ถึง ๔๐-๘๐ นิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น